เมนู

ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
วิญญาณ.

ธรรมหมวด 6


วิสัชนา 60 มีวิสัชนาในจักขุเป็นต้น มีธรรมวิจารเป็นที่สุด
ด้วยสามารถแห่งหมวด 6 หมวดละ 10 พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร
แสดงโดยความเป็นปิยรูปสาตรูป.
เวทนา มีเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นต้นกับทั้งธรรมที่สัมป-
ยุตด้วย.
ความสำคัญในรูป ชื่อว่า รูปสัญญา.
ธรรมชาติใด ย่อมตั้งใจในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
ชื่อว่า สัญเจตนา. อธิบายว่า ย่อมมุ่งสู่อารมณ์.
ธรรมชาติใด ย่อมกระหาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
ตัณหา. อธิบายว่า ย่อมอยาก.
ธรรมชาติใด ย่อมตรึกซึ่งอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
ชื่อว่า วิตักกะ อีกอย่างหนึ่ง ความตรึก ชื่อว่า วิตักกะ, ท่าน
อธิบายไว้ว่า การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์.

ธรรมชาติใด ย่อมประคองจิตไว้ในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาติ
นั้น ชื่อว่า วิจาระ, อีกอย่างหนึ่ง การพิจารณา ชื่อว่า วิจาร,
ท่านอธิบายไว้ว่า การพิจารณาเนือง ๆ.

ธาตุ 6


5] วิสัชนา 6 มีวิสัชนาในปฐวีธาตุเป็นต้น พระธรรม-
เสนาบดีสารีบุตร แสดงด้วยสามารถการกำหนดนามรูป โดยสังเขป.
ชื่อว่า ปฐวี-ดิน เพราะเป็นธรรมชาติแผ่ไป.
ธรรมชาติใด ย่อมเอิบอาบ หรือว่า ย่อมไหลไปและเกาะกุม
ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป-น้ำ.
ธรรมชาติใด ย่อมทำให้ร้อน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
เตโช - ไฟ.
ธรรมชาติใด ย่อมพัดไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
วาโย - ลม.
ธรรมชาติใด อันใคร ๆ ย่อมขีดไม่ได้ เขียนไม่ได้ คือ อัน
ใคร ๆ ไม่อาจที่จะไถ, ตัด, หรือทำลายได้ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
ชื่อว่า อากาโส - อากาส.
ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า มิใช่สัตว์.